Menu

ป้อมปราการ “A’Famosa” แห่งมะละกา สถาปัตยกรรมของยุโรปที่เก่าแก่

ป้อมปราการ เอ ฟาโมซา “A’Famosa” จัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมของยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

01

A Famosa แห่งมะละกา สร้างโดยนายพล Alfonso de Albuquerque ในปี ค.ศ. 1512
เป็นป้อมปราการแห่งนี้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ชาวโปรตุเกสเคยสร้าง
กำแพงหนาถึง 3 เมตร และหอคอยสังเกตุการณ์สูงถึง 40 เมตร
มีบทบาทสําคัญในการต่อต้านการบุกรุกของผู้ไม่หวังดี

A Famosa แปลว่า Famous ในภาษาอังกฤษ หรือ “มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จัก”

02

ต่อมาในปี ค.ศ. 1641 ชาวดัตช์ได้ทำสงครามกับโปรตุเกส และได้ปกครองมะละกาในที่สุด
ร่องรอยจากสงครามในครั้งนี้ทำให้ป้อมปราการแห่งนี้เสียหายไปมาก

ในปี 1670 ชาวดัตช์ได้ซ่อมแซมและอ้างสิทธิการครอบครองป้อมปราการ A Famosa แห่งนี้
โดยการจารึกคำว่า “ANNO 1670” ไว้ที่เหนือประตู Porta de Santiago
พร้อมด้วยอักษรย่อ “VOC” หมายถึง Vereenigde Oost India Companies” หรือ “Pioneer & Servant of Holland in the East.”

บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (The Dutch East India Company หรือภาษาดัตช์ที่สะกดแบบเก่า Vereenigde Oostindische Compagnie or VOC หมายถึง United East Indian Company แปลว่า “สหบริษัทอินเดียตะวันออก”) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2145 (ค.ศ. 1602)

บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ถือกำเนิดขึ้นด้วยการร่วมทุนของพ่อค้าและนายธนาคารดัตช์ที่ไม่พอใจต่อการผูกขาดการค้าเครื่องเทศของโปรตุเกส ซึ่งครอบครองเส้นทางการเดินเรือสู่เอเชียและผลผลิตเครื่องเทศ บริษัทฯ อยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการใหญ่ 17 คน ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลดัตช์ให้มีอำนาจผูกขาดการค้าเครื่องเทศในตะวันออก รวมถึงให้สามารถยึดครองดินแดนโพ้นทะเลที่ไดก็ได้ตามที่บริษัท ฯ เห็นชอบ
หลังก่อตั้งบริษัท ฯ ไม่นาน กองเรือของบริษัทฯ สามารถกำจัดเรือโปรตุเกสและยึดดินแดน เมืองท่าที่โปรตุเกสครอบครองอยู่ในเอเชีย ตั้งแต่ ศรีลังกา มะละกา จากนั้นใน พ.ศ. 2162 ได้ตั้งสำนักงานใหญ่ในเอเชียตะวันออกที่เมืองจาการ์ตา ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น ปัตตาเวีย (Batavia) ตามชื่อเผ่าโบราณของชาวดัตช์ โปรตุเกสยังต้องสูญเสียหมู่เกาะเครื่องเทศหรือ โมลุกกะ (Moluccas) หรือมะลูกู (Maluku) แก่ดัตช์ ทำให้ผลผลิตเครื่องเทศสำคัญเช่น พริกไทย กระวาน กานพลู จันทน์เทศ อยู่ภายใต้การผูกขาดของดัตช์ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 นอกจากนั้นบริษัทฯ ยังมีบทบาทในการจัดซื้อสินค้า ผลผลิตจากอาณาจักรต่าง ๆ เช่น ปัตตานี กัมพูชา อยุธยาหรือสยาม เวียดนาม จีนและญี่ปุ่น หลายครั้งได้ใช้ระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าที่อาณาจักรเหล่านั้นต้องการเช่น ปืนใหญ่ ปืนไฟแบบตะวันตกแลกกับผลผลิตพื้นเมือง

ต่อมามะละกากลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ในปี 1806 อังกฤษส่งกัปตันวิลเลียม ฟาร์คูฮาร์ “Captain William Farquhar” มาทำลายประตูแห่งนี้ เพื่อป้องกันการอ้างสิทธิ์ของชาวดัตช์
วิธีการทำลายป้อมปราการแห่งนี้ในช่วงแรกคือการใช้กำลังคนในการทำลายป้อมแห่งนี้อยู่นานนับเดือน แต่ไม่เป็นผลเนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มั่นคงแข็งแรง

ในปี 1810 ได้มีคำสั่งให้ทำลายป้อมปรากาแห่งนี้ด้วยระเบิด และเป็นช่วงเดียวกันที่ Sir Stamford Raffles, ผู้ก่อตั้ง สิงคโปร์ และเป็นผู้หลงใหลในประวัติศาสตร์
เดินทางมาเยือนมะละกา เมื่อพบเห็นการทำลายป้อมแห่งนี้ จึงสั่งให้ระงับการทำลาย แต่ก็สายไปเสียแล้วเพราะสิ่งที่เหลือไว้มีเพียงซากประตู Porta de Santiago เท่านั้น

05

จบไปแล้วครับ กับประวัติศาสตร์แบบย่อๆ ของ A Famosa ป้อมปราการแห่งมะละกา ที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ที่เหลือไว้เพียงซากประตู Porta de Santiago

08

ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของมะละกา ใครไป ใครมาก็ต้องมาเยี่ยมเยือนกันทุกคนครับ

15

นักท่องเที่ยวต่างชาติ ก็จะมาถ่ายรูปกันที่นี่

12

คนท้องถิ่นก็จะมาออกกำัลังกายกันตอนเช้าๆ

13

ตอนเช้าส่งลูกๆ ไปโรงเรียน

17

ถ่านรูปแต่งการก็ที่ป้อมปราการแห่งนี้  ยิงฟันยิ้ม

07

ปืนใหญ่ กับ เด็กน้อย
“สงครามมีแต่ความสูญเสีย เทียบไม่ได้เลยกับรอยยิ้มของเด็กน้อย”

16

ฝากไว้เป็นรูปสุดท้าย “ขอความสงบจงเกิดขึ้นในใจของพวกเราทุกๆคน ขอความสันติภาพจงเกิดขึ้นในโลกของเรา”

page

19

 

 

Categories:   สถานที่ท่องเที่ยว มาเลเซีย